การเสพติดคืออะไร

การเสพติดคืออะไร

มีหลายคนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมคนถึงติดสุราและยาเสพติด บางคนอาจคิดว่าการเสพติดเป็นผลมาจากความล้มเหลวทางศีลธรรมหรือความบกพร่องในอุปนิสัย แต่ความเป็นจริงแล้วการติดสุราและยาเสพติดถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีความซับซ้อนบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวคิดนี้ได้ดีขึ้น 

การเสพติดคือโรคเรื้อรังชนืดหนึ่ง

แนวคิดทางการแพทย์แบบตะวันตกเชื่อว่าการเสพติดถือเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง การกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำแล้วซ้ำเล่านับได้ว่าเป็นลักษณะอาการกำเริบของโรค ทั้งนี้การที่ผู้ติดยาเสพติดเลิกยาไม่ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจาก สมองมีบทบาทสำคัญในการเสพติด เนื่องจากการที่สมองได้รับสารเสพติดเป็นเวลานาน ทำให้โครงสร้างและการทำงานของสมองเปลี่ยนแปลงไป  ดังนั้นการเยียวยาผู้ติดยาเสพติดนั้น ควรเริ่มจากความเข้าใจว่าการเสพติดเป็นโรคซึ่งจะเกี่ยวพันกับเงื่อนไขทางการแพทย์มากกว่าเป็นการขาดความมุ่งมั่นหรือความล้มเหลวทางศีลธรรมของปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียว 

เหตุผลที่การเสพติดถูกจัดว่าเป็นโรคเรื้อรัง

1. การเสพติดเปลี่ยนแปลงการทำงานและโครงสร้างของสมอง

เหตุผลหลักที่ว่าทำไมการเสพติดถึงเป็นโรคเรื้อรังก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่าการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่องจะไปเปลี่ยนแปลงการทำงานและโครงสร้างของสมอง  โดยปกติแล้วสมองจะหลั่งสารโดพามีนออกมากเมื่อถูกกระตุ้น เช่น ตอนที่คุณมีความรัก รู้สึกยินดี มีความสุข  โดยสมองจะหลั่งสารโดพามีนโดยธรรมชาติได้ตลอดชีวิต  การใช้สารเสพติดจะไปออกฤทธิ์โดยตรงกับสมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารโดพามีนออกมามากผิดปกติ ณ ห้วงเวลาสั้นๆ ส่งผลให้ผู้เสพยามีความสุขมากผิดปกติในช่วงเวลานั้น  ทว่ายาเสพติดจะไปทำลายกลไลการทำงานโดยธรรมชาติของสมอง ทำให้ประสิทธิภาพของการหลั่งสารโดพามีนตามธรรมชาติถดถอยลงอย่างมาก ผู้เสพยาจึงมีอาการหงุดหงิด และซึมเศร้า อยากจะแสวงหายามาใช้ซ้ำ และเมื่อสมองเริ่มดื้อยาผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้มีความสุขเท่าเดิมอีกครั้ง  ส่งผลทำให้พฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนไปด้วย

2. การเสพติดมีปัจจัยทางพันธุกรรม

องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนทัศน์การเสพติดคือบทบาทของพันธุกรรมและประวัติครอบครัว แม้ว่าทุกคนจะมีโอกาสติดยาเสพติดได้ตลอดชีวิตเหมือนกัน แต่จะมีบางคนที่มีแนวโน้มจะเสพติดได้มากกว่าผู้อื่น ตามข้อมูลที่ได้รับจากสภาโรคพิษสุราเรื้อรังและการพึ่งพายาเสพติดแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NCADD: The National Council on Alcoholism and Drug Dependence) พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของความเสี่ยงในการพัฒนาการเสพติดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม หมายความว่าหากครอบครัวของบุคคลใดมีประวัติการเสพติด บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะพัฒนาอาการเสพติดที่คล้ายกัน หรือมียีนส์ที่ไวต่อการเสพติดได้มากกว่าบุคคลที่มาจากครอบครัวที่ไม่เคยมีประวัติการเสพติด

3. การเสพติดเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านพฤติกรรม

หลายคนที่เสพยาเสพติดตั้งแต่อายุยังน้อย อาจใช้ยาเสพติดเพื่อพยายามจัดการกับอาการความเจ็บป่วยทางจิตที่มีอยู่ เช่น การไม่มีความสุข ความเครียด กดดัน บางคนตัดสินใจใช้ยาเสพติดจากความอยากลอง อย่างไรก็ดีเมื่อได้ลองแล้วก็เกิดการใช้ซ้ำจนเสพติดและสูญเสียการควบคุมด้านพฤติกรรมไป  หากตัดสินใจที่จะเลิกยาเองพวกเขากลับพบว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะร่างกายจะเผชิญกับอาการอยากเสพยาอย่างรุนแรง เช่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ชัก แน่นหน้าอก สั่น และอาจเสียชีวิตได้

การเสพติดสามารถบำบัดได้

แม้ว่าอาการเสพติดจะจัดเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาให้หายขาดได้ยาก แต่ก็สามารถบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านยาและโปรแกรมการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  มีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจำนวนหนึ่งที่ออกแบบโปรแกรมการช่วยเหลือทางการแพทย์  ควบคู่กับบริการด้านอื่นๆที่หลากหลาย เช่นการบำบัดแบบองค์รวม กิจกรรมบำบัด การให้คำปรึกษา  ครอบครัวบำบัด การฟื้นฟูระยะเปลี่ยนผ่านหลังการบำบัด ฯลฯ

เริ่มต้นชีวิตใหม่วันนี้!

อาการเสพติดนั้นจะมีแต่ลุกลามและซับซ้อนขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เจ้ารับการบำบัด การติดยาไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อชีวิตของผู้เสพติดเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในครอบครัวด้วย 

วิธีการรักษาอาการสมองติดยา ที่ เดอะวอร์ม รีแฮบนั้น  ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน ในบางกรณีแพทย์อาจต้องใช้วิธีสองขนานควบคู่กัน  คือการใช้ยาเพื่อรักษาให้สมองกลับมาดีขึ้น  และการให้คำปรึกษาด้านจิตบำบัด เพื่อค้นหาสาเหตุต้นตอของการใช้ยาเสพติด และหาทางแก้ปมปัญหานั้น โดยต้องทำงานร่วมกับครอบครัวของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว  ไม่ว่าการเสพติดของคุณจะอยู่ในระยะไหน เดอะวอร์ม รีแฮบ มีโปรแกรมการบำบัดที่หลากหลายรองรับ  แต่ละโปรแกรมนักจิตบำบัดจะมอบเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้คุณได้สัมผัสกับความสุข สุขภาพ และการฟื้นตัวในระยะยาว โทรปรึกษาเราวันนี้! 082-492-4845

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า