คำกล่าวที่ว่าการเลิกสุราและยาเสพติดเป็นกระบวนการที่ต้องฝึกฝนไปตลอดชีวิต ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องเกินจริง การบำบัดสุราและยาเสพติดนั้นถือเป็นกระบวนการเฉพาะบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามภาวะและสถานการณ์รายปัจเจก แต่ไม่ว่าจะเป็นการเลิกสุราหรือยาเสพติดชนิดใดก็ตาม การให้บริการการบำบัดมักจะถูกแบ่งออกแบ่ง 2 หมวดกว้าง ๆ คือ บริการแบบอยู่ประจำและบริการแบบผู้ป่วยนอก หลายคนที่กำลังจะตัดสินใจเพื่อเข้ารับการบำบัด อาจมีคำถามว่าบริการแบบอยู่ประจำและแบบผู้ป่วยนอกนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร และควรเลือกเข้ารับการบริการแบบไหน บทความนี้จะไขข้อข้องใจให้กับคุณ
ลักษณะของสถานบำบัดและฟื้นฟูสมรรภาพผู้ติดยาเสพติดแบบอยู่ประจำและแบบผู้ป่วยนอก
สถานบำบัดและฟื้นฟูสมรรภาพผู้ติดยาเสพติดแบบอยู่ประจำ (residential rehab): หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นสถานบำบัดแบบกิน–นอน โดยผู้เข้ารับการบัดจะได้รับการประเมินสภาพร่างกายและจิตใจครอบคลุมทุกมิติก่อนเข้ารับการบำบัด เพื่อกำหนดเป้าหมาย และวางแผนการรักษาร่วมกันกับแพทย์และนักจิตวิทยาประจำตัว กระบวนการบำบัดแบบอยู่ประจำนั้นมีความเข้มข้นสูงเนื่องจากผู้เข้ารับการบำบัดจะได้ใช้เวลาตลอด 24 ชั่วโมงในสถานบำบัด ทั้งนี้ มีข้อดีคือผู้เข้ารับการบำบัดได้ออกห่างสภาวะแวดล้อมเดิมที่เอื้อให้ใช้สารเสพติด และสามารถมีสมาธิจดจ่อกับการบำบัดที่เข้มข้น ทั้งยังสะดวก สบาย ปลอดภัย ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาวะที่ดี มีแพทย์และพยาบาลประจำสถานบำบัดคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และมักมีโปรแกรมฟื้นฟูดูแลระยะเปลี่ยนผ่านและโปรแกรมฟื้นฟูสภาพเพื่อกลับสู่สังคม เพื่อประคับประคองให้ผู้เข้ารับการบำบัดสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ในสภาพแลดล้อมที่เต็มไปด้วยแรงกระตุ้น
สถานบำบัดและฟื้นฟูสมรรภาพผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอก (outpatient rehab): เป็นบริการการบำบัดแบบไป–กลับ ซึ่งกระบวนการรักษาย่อมเข้มข้นน้อยกว่าบริการแบบอยู่ประจำ ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดสามารถจัดสรรเวลาที่ตนเองสะดวกเพื่อนัดพบแพทย์แบบเป็นครั้ง ๆ ไปได้ ทั้งยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีมีภาวะเสพติดที่ยังไม่รุนแรงมากนัก หรือผู้ที่ไม่สามารถจัดตารางเวลาเพื่อเข้ารับการรักษาแบบอยู่ประจำได้
คุณหรือคนที่คุณรักเหมาะสมกับการบำบัดแบบไหน
บริการการบำบัดแบบอยู่ประจำและแบบผู้ป่วยนอกนั้นมีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของแผนการรักษา และระยะเวลา ทั้งนี้ คุณหรือคนที่คุณรักจะเหมาะกับบริการแบบไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายและข้อจำกัดในชีวิตของแต่ละคนด้วย ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดู
คุณถูกกระตุ้นให้เสพสารเสพติดบ่อยแค่ไหน
สำหรับผู้ที่เสพสารเสพติดบ่อยครั้งในปริมาณสูงเป็นระยะเวลานาน หรือเคยเข้ารับการบำบัดมาก่อนแต่ก็กลับไปใช้ซ้ำอีก คุณจะเหมาะกับบริการการบำบัดแบบอยู่ประจำมากกว่า ในทางตรงข้าม ผู้ใช้สารเสพติดที่มีอาการไม่รุนแรงมากนักโดยใช้แต่ละครั้งในปริมาณน้อย และเพิ่งเริ่มใช้สารเสพติดได้ไม่นานอาจจะเหมาะกับบริการแบบผู้ป่วยนอกมากกว่า
แรงจูงใจในการเข้ารับการบำบัด
หากคุณพบว่าตัวเองไร้แจงจูงใจและขาดวินัยในการเข้ารับการบำบัดตามตารางนัดหมาย การเลือกบริการการบำบัดแบบอยู่ประจำอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากสถานบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบอยู่ประจำ มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมช่วยให้ผู้เข้ารับการบำบัดมีสมาธิและมีแรงจูงใจจดจ่อกับการบำบัดได้ดีกว่า อย่างไรก็ดี หากคุณมีพลังใจที่แข็งแกร่ง และสามารถใช้ชีวิตแบบวินัยอย่างสม่ำเสมอ การบำบัดแบบผู้ป่วยนอกก็อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับคุณ
คุณมีภาวะโรคร่วมไหม เช่น ซึมเศร้า พฤติกรรมการรับประทานที่ผิดปกติ ฯลฯ
หากคุณมีสภาวะของโรคร่วมควบคู่กับการใช้สารเสพติด บริการแบบอยู่ประจำจะเหมาะกับคุณมากกว่าเพราะคุณต้องการการดูแลจากแพทย์อย่างใหล้ชิด และอาจจำเป็นต้องใช้ยาในการร่วมรักษา
การบำบัดแบบอยู่ประจำและแบบผู้ป่วยนอกต่างมีจุดเด่นและมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมและปัจจัยแวดล้อมของผู้เข้ารับการบำบัดด้วย อย่างไรก็ดี การมีทางเลือกที่หลากหลายย่อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการบำบัดสามารถเลือกแนวทางการบำบัดที่เหมาะสมกับตัวเอง ที่เดอะวอร์ม รีแฮบ มีทั้งบริการแบบอยู่ประจำ แบบผู้ป่วยนอก การถอนพิษโดยแพทย์ ครอบครัวบำบัด การดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน การฟื้นฟูสภาะเพื่อกลับสู่สังคม และกิจกรรมบำบัด ฯลฯ และหากคุณต้องการคำแนะนำจากแพทย์ คุณสามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง